คู่มือเพื่อความเข้าใจศาสนาอิสลามพร้อมภาพประกอบฉบับย่อ

You are here: Islam Guide โฮมเพจ > บทที่ 1, หลักฐานบางประการที่บอกถึงความเป็นจริงของศาสนาอิสลาม > (1) ปาฏิหาริย์ในทางวิทยาศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ในพระคัมภีร์กุรอาน > จ) พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยทะเลและแม่น้ำ

จ) พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยทะเลและแม่น้ำ :

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ค้นพบว่า ในสถานที่ซึ่งทะเลสองสายมาบรรจบกัน จะเกิดสิ่งขวางกั้นทะเลทั้งสองไว้ โดยที่สิ่งขวางกั้นดังกล่าวนี้จะแบ่งทะเลทั้งสองออกจากกัน เพื่อที่ว่าทะเลแต่ละสายจะได้มีอุณหภูมิ ความเข้มและความหนาแน่นเป็นของตนเอง.1 ตัวอย่างเช่น น้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะอุ่น เค็ม และมีความหนาแน่นน้อยเมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทรแอตแลนติก เมื่อน้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนหนุนเข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติค โดยผ่านทางสันดอนยิบรอลตาร์ (Gibraltar) มันจะไหลไปเป็นระยะทางหลายร้อยกิโลเมตรหนุนเข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติกที่ความลึกประมาณ 1000 เมตร โดยพาความอุ่น ความเค็ม และความหนาแน่นที่น้อยกว่าของมันเองไปด้วย น้ำในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจะคงที่อยู่ที่ความลึกดังกล่าวนี้2(ดูรูปที่ 13).
 

รูปที่ 13 (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

รูปที่ 13:น้ำจากทะเลเมดิเตอร์เรเนียนขณะที่หนุนเข้าไปในมหาสมุทรแอตแลนติกโดยผ่านทางสันดอนยิบรอลตาร์ ซึ่งจะพาความอุ่น ความเค็มและความหนาแน่นที่น้อยกว่าเข้าไปด้วยเนื่องมาจากแนวสันดอนที่กั้นอยู่แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างทะเลทั้งสอง อุณหภูมิจะนับเป็นองศาเซลเซียส (C’)  (Marine Geology ของ Kuenen หน้า 43 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติมเล็กน้อย) (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

แม้ว่าจะมีคลื่นลูกใหญ่ กระแสน้ำที่เชี่ยวกราก และระดับน้ำขึ้นลงสูงเพียงใดในทะเลดังกล่าว ทะเลทั้งสองก็จะไม่มีโอกาสที่จะรวมกันหรือรุกล้ำสิ่งขวางกั้นนี้ไปได้ .

พระคัมภีร์กุรอานได้กล่าวไว้ว่า มีสิ่งขวางกั้นระหว่างทะเลทั้งสองที่มาบรรจบกัน และทะเลทั้งสองจะไม่สามารถรุกล้ำผ่านไปได้ พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสว่า:

 พระองค์ทรงทำให้น่านน้ำทั้งสองไหลมาบรรจบกันระหว่างมันทั้งสองมีที่กั้นกีดขวาง มันจะไม่ล้ำเขตต่อกัน (พระคัมภีร์กุรอาน, 55:19-20)

แต่เมื่อพระคัมภีร์กุรอานกล่าวถึงเรื่องราวระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม พระคัมภีร์มักจะกล่าวว่าจะมี “เขตหวงห้าม” โดยมีสิ่งขวางกั้นไม่ให้น้ำทั้งสองรวมกันได้ พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในพระคัมภีร์กุรอานดังน:

 และพระองค์คือผู้ทรงทำให้ทะเลทั้งสองบรรจบติดกัน อันนี้จืดสนิทและอันนี้เค็มจัดและทรงทำที่คั่นระหว่างมันทั้งสอง และที่กั้นขวางอันแน่นหนา (พระคัมภีร์กุรอาน, 25:53)

อาจมีใครบางคนถามว่า ทำไมพระคัมภีร์กุรอานจึงกล่าวถึงการแบ่งเขต เมื่อพูดถึงเรื่องสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม แต่ไม่กล่าวถึงการแบ่งเขตดังกล่าวเมื่อพูดถึงสิ่งที่แบ่งแยกระหว่างทะเลสองสาย?

วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้ค้นพบว่าในบริเวณปากแม่น้ำ ที่ซึ่งน้ำจืดและน้ำเค็มมาบรรจบกันนั้น สถานภาพจะค่อนข้างแตกต่างจากสิ่งที่ได้พบในสถานที่ซึ่งทะเลสองสายมาบรรจบกัน โดยพบว่าสิ่งที่แยกน้ำจืดออกจากน้ำเค็มในบริเวณปากแม่น้ำนั้นคือ “เขตที่น้ำเปลี่ยนแปลงความหนาแน่น โดยที่ความหนาแน่นที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนจะเป็นสิ่งที่แยกน้ำสองสายนี้ออกเป็นสองชั้น.”3 การแบ่งเขตดังกล่าวนี้ (เขตการแบ่งแยก) จะมีความแตกต่างในเรื่องของความเค็มระหว่างน้ำจืดและน้ำเค็ม4 (ดูรูปที่ 14).

รูปท 14 (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

รูปท 14:ส่วนที่เป็นเส้นตั้งตรง แสดงให้เห็นถึงความเค็ม (ส่วน ต่อ หนึ่งพันเปอร์เซ็นต์) ในบริเวณปากแม่น้ำ เราจะเห็นการแบ่งเขต (เขตการแบ่งแยก) ที่กั้นระหว่างน้ำจืดกับน้ำเค็ม (Introductory Oceanography  ของ Thurman หน้า 301 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติมเล็กน้อย) (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)

ข้อมูลดังกล่าวได้ถูกค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ โดยการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยในการวัดอุณหภูมิ ความเค็ม ความหนาแน่น ออกซิเจนที่ไม่ละลายน้ำ และอื่นๆ  ด้วยสายตาของมนุษย์จะไม่สามารถมองเห็นความแตกต่างระหว่างการมาบรรจบกันของทะเลทั้งสองสายได้ ซึ่งทะเลทั้งสองที่ปรากฏต่อหน้าเรานั้นดูเหมือนเป็นทะเลพื้นเดียวกัน เช่นเดียวกันที่สายตาของมนุษย์ไม่สามารถมองเห็นการแยกกันของน้ำในบริเวณปากแม่น้ำที่ผสมผสานกันของน้ำ 3 ชนิด ได้แก่ น้ำจืด น้ำเค็ม และการแบ่งเขต (เขตการแบ่งแยก).
 

_____________________________

เชิงอรรถ:

(1)Principles of Oceanography  ของ Davis หน้า 92-93. Back from footnote (1)

(2)Principles of Oceanography  ของ Davis  หน้า 93. Back from footnote (2)

(3)Oceanography ของ Gross  หน้า 242 และดูที่ Introductory Oceanography  ของ Thurman หน้า 300-301. Back from footnote (3)

(4)Oceanography  ของ Gross หน้า 244 และ Introductory Oceanography  ของ Thurman   หน้า 300-301. Back from footnote (4)
 

โฮมเพจ: www.islam-guide.com